วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระมหาธรรมกายเจดีย์ ไม่ได้มีพระ 1 ล้านองค์


    พระมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในยุคปัจจุบันที่เรา ๆ ท่าน ๆ ยังมีลมหายใจ และเป็นเจดีย์อีกองค์หนึ่งที่โด่งดังมากที่สุด และมีความไม่ธรรมดามากอีกด้วย


    พื้นผิวสีทองที่เรามองเห็นแต่ไกลนี้ ไม่ได้เกิดจากการทาสี แต่เป็นสีของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานเรียงต่อเนื่องและทุกองค์ล้วนมีจุดเชื่อมต่อกัน


    จขบ. มีโอกาสได้เห็นวิดีโอภาพใกล้ ๆ ของพระเจดีย์องค์นี้ ดูตอนแรก ๆ บางคนนึกว่าเป็น CG (Computer Graphic)  แต่จริง ๆ แล้วคือรูปจริง ๆ ของพื้นผิวสีทองที่เราท่านส่วนใหญ๋ได้เห็นแค่ไกล ๆ หากท่านใดไม่เชื่อ ลองแวะเวียนไปกราบนมัสการและพกกล้องส่องทางไกล ไปส่องดูด้วยตาตัวเองได้นะจ๊ะ (แต่อย่าไปส่องผิดที่นะ เพราะมีหลาย ๆ ท่านนึกว่าวิหารหลวงปู่วัดปากน้ำคือมหาธรรมกายเจดีย์)

        ใคร ๆ ก็บอกว่าเจดีย์องค์นี้มีพระ 1 ล้านองค์ประดิษฐานอยู่ แต่ จขบ. บอกเลยว่าไม่จริง!! เพราะจริง ๆ คือ 1 ล้าน 1 องค์ ต่างหาก

    องค์ที่ 1 ล้าน 1 เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยวัสดุแตกต่างจาก 1 ล้านองค์แรก และประดิษฐานในตำแหน่งที่ไม่มีผู้ใดสามารถมองเห็นได้


พระบรมพุทธเจ้า หล่อขึ้นจากเงิน




ประดิษฐานไว้ "ภายใน" โดมของพระมหาธรรมกายเจดีย์
และวันนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่ทุกคนมีโอกาสได้เห็นองค์พระบรมพุทธเจ้า

        เมื่อเรารู้ดังนี้ ครั้งต่อ ๆ ไปที่มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการพระมหาธรรมกายเจดีย์ จะได้นับยอดจำนวนองค์พระที่เรากราบได้ว่า...


กราบครั้งที่ 1    กราบพระรวม 1 ล้าน 1 องค์  
กราบครั้งที่ 2    กราบพระรวม 2 ล้าน 2 องค์  
กราบครั้งที่ 3    กราบพระรวม 3 ล้าน 3 องค์  


เครดิต ภาพจาก : www.dmc.tv
                            www.dhammakaya.org
                            www.dhammakaya.net

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โบสถ์วัดพระะธรรมกายไม่ได้ทาสีขาว

         เมื่อหลายเดือนก่อน ได้มีโอกาสชมโบสถ์วัดพระธรรมกาย นำชมโดยมัคคุเทศน์ประจำ
ได้ความรู้ใหม่ ๆ เยอะเลย หนึ่งในนั้นคือได้รู้ว่าโบสถ์สีขาวหลังนี้ ไม่ได้ใช้สีทา




      ไม่ใช้สีทา แล้วขาวได้อย่างไร นั่นก็เพราะโบสถ์หลังนี้ ใช้วัสดุที่มีสีขาวผสมลงในเนื้อปูนที่ใช้ก่อสร้างนั่นเอง


เมื่อเข้าไปดูใกล้ ๆ ก็จะเห็นว่าพื้นผิวสีขาวที่เราเห็น ก็คือ "หินเกล็ดสีขาว" นั่นเอง
หินเกล็ดสีขาว คัดแยกอย่างไรจึงเลือกเฉพาะสีขาว ๆ มาได้เป็นจำนวนมากเพียงพอในการก่อสร้าง

คำถามนี้ จขบ. สามารถตอบได้  แม้จะมาไม่ทันช่วงที่สร้างโบสถ์ แต่มาทันช่วงที่สร้างหอฉันฯ จึงมีโอกาสได้ร่วม "คัดแยก" หินเกล็ดกับเขาด้วย ทางวัดให้ญาติโยมมาช่วยกันนั่งคัดทีละเม็ด ๆ นั่งคัดกันหลายวัน

ทำแบบนี้ ดีอย่างไร   
1. เมื่อได้ช่วยลงมือลงแรง (นอกเหนือจากลงเงิน) ย่อม "จำ" สิ่งที่ได้ทำด้วยสองมือได้แม่นยำเป็นพิเศษ
    เป็นกุศโลบายของทางวัด ที่ให้สาธุชนได้บุญไปเต็มเม็ดเต็มหน่วย และนึกถึงได้บ่อย ๆ อย่างง่าย ๆ 
    นึกทีไร ก็ได้บุญทุกที
2. เมื่อไม่ต้องทาสี ย่อมช่วยลดภาระการดูแลเรื่องการทาสี ในระยะยาวโบสถ์ก็จะยังคงขาว โดยไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องสีลอก สีเปลี่ยน เหมือนอาคารอื่น ๆ  ช่วยประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ลดความกังวล 

นับเป็นแนวคิดในการก่อสร้างที่แปลกและสร้างสรรค์จริง ๆ 

จขบ. คิดได้ 2 ข้อ หากผู้อ่านท่านใดมีข้อดีเพิ่มเติม ก็บอกกันได้นะคะ